WordPress MU คืออะไร ทำไมต้อง WPMU

WordPress MU คืออะไร ทำไมต้อง WPMU


การติดตั้ง WordPress MU อย่างละเอียด 
WordPress Multi User หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า WordPress MU (WPMU) เป็น WordPress ที่สามารถสร้างเพิ่มเป็นแบบ Subdomain หรือแบบ Subdirectory ได้ในลักษณะของ Network โดย Admin ที่เป็นผู้สร้างสามารถดูแลจัดการ Sub ที่สร้างขึ้นมาใหม่ได้ทั้งหมด สามารถเปิดให้ผู้ใช้คนอื่นเข้ามาสมัครใช้บริการได้ เหมือน wordpress.com โดยผู้ที่เข้ามาสมัครเป็นสมาชิก ก็จะได้รับ login user และ password สามารถจัดการ Blog ของตัวเองได้ตามที่ Network Admin เปิดให้ใช้ เช่น Themes และ Plugins ต่างๆ ในขณะเดียวกันก็สามารถปิดการรับสมัครโดยผู้ติดตั้งเป็นผู้ใช้แต่เพียงผู้ เดียว นิยมใช้กันในกลุ่มขาปั่นทั้งหลาย ในการปั่น Subdomain สำหรับการทำ Amazon

ในสมัยก่อนการติดตั้งค่อนข้างวุ่นวายซับซ้อน แต่หลังจาก WordPress พัฒนาถึงเวอร์ชั่น 3 ก็ได้มีการรวมระบบ Multi User เข้ามาอยู่ในตัวเดียวกัน เพียงแต่ทำการเปิดฟังก์ชั่นการใช้งานเพิ่มขึ้นอีกเพียงไม่กี่ขั้นตอน จาก WordPress ธรรมดา ก็จะกลายเป็น Super WordPress หรือ WordPress Multi SIte ทันที

วิธีการติดตั้ง WordPress MU

การติดตั้ง WordPress MU ด้วยเวอร์ชั่น 3 หลังจากที่ Add-on ชื่อโมน สร้าง Database เรียบร้อยแล้ว ให้ทำการติดตั้ง WordPress ตามปกติ (วิธีติดตั้ง WordPress)
หลังจากที่เราได้ติดตั้ง WordPress เสร็จเรียบร้อย อันดับแรกให้ไปทำการสร้าง Wild DNS เสียก่อน โดยทำการสร้าง Subdomain ด้วยเครื่องหมาย ” * ” ของชื่อโดเมนที่เราจะทำการติดตั้ง ในการทำเช่นนี้ บางโฮสต์ก็ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากไม่เปิดบริการให้ แต่บางโฮสต์เช่น HostMonster ซึ่งมีนโยบายแจ้งไว้ในส่วน Help ว่าทำไม่ได้ ผมได้สอบถามไปที่ Customer Support  เขาก็กลับมาว่าทำไม่ได้ แต่ผมได้ลองทำแล้วก็ผ่านฉลุย ไม่ติดปัญหาแต่อย่างไร
การติดตั้ง WordPress MU อย่างละเอียดจาก นั้น ให้ทำการสำรองไฟล์ wp-config.php ไว้ก่อน (เผื่อเอาไว้ครับ ในกรณีทำอะไรผิดพลาด) จากนั้นให้เปิดไฟล์ wp-config.php ขึ้นมา จะใช้ Notepad หรือโปรแกรม TextEditor อะไรก็แล้วแต่สะดวก หา define(‘DB_COLLATE’, ); อยู่ประมาณบรรทัดที่ 34 ให้ทำการเพิ่ม define(‘WP_ALLOW_MULTISITE’, true); ในบรรทัดถัดมา (ตามรูป)
กรณีที่ copy “define(‘WP_ALLOW_MULTISITE’, true);” ตรงนี้ไป เช็คเครื่องหมาย ” ” ด้วยนะครับ เนื่องจาก font interface ที่ใช้ในธีมนี้ แสดงเป็นเครื่องหมาย comma ดังนั้นอาจจะไม่ผ่านขั้นตอนนี้ครับ ทำให้ไม่แสดง Network ในส่วนของเมนู Tools
การติดตั้ง WordPress MU อย่างละเอียดหลัง จากเซฟไฟล์เรียบร้อยแล้ว ให้กลับไปเปิดที่หน้า Backend Admin ของ WordPress เราจะพบว่าในส่วนของ Tools ได้เพิ่มฟังก์ชั่น Network เข้ามาเรียบร้อยแล้ว
การติดตั้ง WordPress MU อย่างละเอียดให้ คลิกเข้าไปในส่วนของ Network จะได้หน้าตาเหมือนรูปด้านล่าง เลือก Sub-domains ถ้าต้องการติดตั้งแบบ Subdomains เพราะค่าเริ่มแรกตรงนี้จะเป็น Sub-directories อย่าลืมเปลี่ยนตรงนี้นะครับ ไม่เช่นนั้น ต้องเริ่มต้นใหม่หมดอีกรอบ ด้วยไฟล์ wp-config.php ที่สำรองเอาไว้ เสร็จแล้วให้คลิก Install
การติดตั้ง WordPress MU อย่างละเอียดก็จะเข้าต่อมาในหน้านี้ จะเห็นส่วนที่ต้องจัดการ 3 ส่วนด้วยกันในหัวข้อที่ 1, 2 และ 3
การติดตั้ง WordPress MU อย่างละเอียดในหัวข้อที่ 1 ให้ไปสร้างโฟลเดอร์ชื่อ “blogs.dir” ในโฟลเดอร์ wp-content แล้วทำการแก้ไข Permission เป็น 777
การติดตั้ง WordPress MU อย่างละเอียดให้ Copy โค๊ดทั้งหมดในข้อ 2. ไปใส่ในไฟล์ wp-config.php โดยใส่เหนือประโยค  /* That’s all, stop editing! Happy blogging. */: ซึ่งอยู่ประมาณบรรทัดที่ 85
การติดตั้ง WordPress MU อย่างละเอียดใน การสร้างไฟล์ .htaccess ให้เปิดโปรแกรม Nodepad ใหม่ขึ้นมา แล้วสร้างไฟล์ขึ้นมาใหม่ ให้ Copy โค๊ดในข้อ 3 ใส่ลงไป เสร็จแล้วให้เซฟไฟล์นี้เป็นชื่อ htaccess เสียก่อน  แล้วทำการ upload ขึ้นไปยัง Server ให้อยู่ภายในโฟล์เดอร์ที่เราติดตั้ง WordPress เมื่อ upload ขึ้นไปเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการเปลี่ยนชื่อไฟล์ โดยเติม ” . ” ใส่ที่ด้านหน้า htaccess (การที่ต้องมา rename ภายหลัง เพราะถ้าเราตั้งชื่อไฟล์เป็น .htaccess ไฟล์นี้จะมองไม่เห็นเนื่องจากเป็นไฟล์ invisible
การติดตั้ง WordPress MU อย่างละเอียดจาก นั้นให้ทำการ Log out และ Log in เข้าไปใหม่อีกที ก็จะเห็นว่าที่มุมบนด้านขวา จะมีส่วนของ Network Admin เกิดขึ้นมา ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อยสำหรับการติดตั้ง WordPress Multi User
การติดตั้ง WordPress MU อย่างละเอียดจาก ตัวอย่างเป็นการติดตั้งด้วย WordPress เวอร์ชั่น 3.2.1 ในกรณีที่ใช้เวอร์ชั่นอื่น อาจมีข้อแตกต่างบ้างเล็กน้อยในส่วนของชื่อคำที่ใช้งาน แต่ขั้นตอนยังคงเหมือนเดิม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น